แผ่นแปะแก้ปวดจากสารสกัดไพล 8027 Views

องค์ความรู้/เทคโนโลยี

        สูตรและกรรมวิธีผลิต “แผ่นแปะแก้ปวดจากสารสกัดไพล” เพื่อทดแทนผลิตภัณฑ์ในรูปแบบครีมซึ่งมักมีปัญหาปริมาณสารสำคัญมากหรือน้อยเกินไป (มากเกินไปทำให้เกิดการระคายเคือง น้อยเกินไปทำให้ประสิทธิภาพการออกฤทธิ์ในเวลาสั้น) โดยแผ่นแปะแก้ปวดออกฤทธิ์แก้ปวดและต้านการอักเสบของกล้ามเนื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพ สะดวกและง่ายต่อการใช้งาน ออกฤทธิ์ได้นาน มีความเสถียร ไม่ก่อให้เกิดการระคายเคือง

รายละเอียด

        “ไพล” (Zingiber cassumunar) เป็นสมุนไพรไทยที่ถูกนำมาใช้เป็นผลิตภัณฑ์บรรเทาอาการปวด เคล็ด ขัดยอก โดยมักนิยมผลิตในรูปครีมทา อย่างไรก็ตาม ครีมไพลที่จำหน่ายโดยทั่วไปมักมีปัญหาในเรื่องปริมาณตัวยาสำคัญซึ่งส่งผลต่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์ กล่าวคือ ครีมไพลที่มีปริมาณตัวยามากไปจะก่อให้เกิดการระคายเคืองเมื่อทา แต่ถ้าน้อยไปจะทำให้ประสิทธิภาพการรักษาต่ำลง ทำให้ต้องทาบ่อยๆ

        “ผลิตภัณฑ์แผ่นแปะแก้ปวดจากสารสกัดไพล” ได้รับการพัฒนาคิดค้นเพื่อแก้ไขปัญหาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากการใช้ตัวยามากหรือน้อยเกินไปข้างต้น โดยใช้สารสกัดไพลที่มีสารสำคัญในกลุ่มฟีนิลบิวทานอยด์ (phenylbutanoids) เป็นองค์ประกอบหลัก ออกฤทธิ์แก้ปวดและต้านการอักเสบของกล้ามเนื้อ โดยแผ่นแปะถูกออกแบบพิเศษให้สะดวกและใช้งานง่าย สามารถออกฤทธิ์ได้ยาวนาน ผ่านการวิจัยและพัฒนาในการควบคุมสารสำคัญที่ใช้ในแผ่นแปะให้มีปริมาณที่พอเหมาะ ไม่มากหรือน้อยเกินไปเพื่อประสิทธิภาพสูงสุดในการใช้ สามารถควบคุมให้แผ่นแปะให้มีคุณภาพเหมือนกันทุกครั้งที่ผลิต รวมทั้งยังใช้สารเมือกจากเมล็ดแมงลักเป็นสารก่อฟิล์มซึ่งทำให้ไม่ก่อให้เกิดการระคายเคือง นอกจากนี้ กรรมวิธีการผลิตแผ่นแปะทั้งหมดยังเป็นกรรมวิธีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green Pharmacy) ช่วยประหยัดพลังงานและลดระยะเวลาการผลิตด้วย

 

 

จุดเด่น

  • ใช้เทคโนโลยีควบคุมปริมาณตัวยาให้อยู่ในระดับเหมาะสม มีความเสถียร ออกฤทธิ์ได้นานและมีประสิทธิภาพ หมดปัญหาการระคายเคือง
  • มีสารก่อฟิล์มจากเมล็ดแมงลักป้องกันการระคายเคืองต่อผิวหนัง
  • สามารถควบคุมให้แผ่นแปะให้มีคุณภาพเหมือนกันทุกครั้งที่ผลิต
  • วิธีสกัดสารที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green Extraction) ช่วยประหยัดพลังงานและลดระยะเวลาการผลิต

ตลาด/กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย

  • ผู้ป่วยโรคข้อ/กระดูก
  • นักกีฬา
  • ร้านขายยา
พูดคุยกับเจ้าของเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ฐาปนีย์ สังข์ศิริ
สถานะผลงาน
ระดับต้นแบบ (Prototype)
  • Initial
  • Experimental
  • Prototype
  • Transfer
ความต้องการ
  • ต้องการผู้ประกอบการที่สนใจร่วมพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยี ก่อนผลิต / ลงทุนเชิงพาณิชย์

ผู้เหมาะนำเทคโนโลยีไปลงทุน

  • โรงพยาบาล
  • คลินิก
  • เภสัชกร

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

ผู้สมัครสามารถสมัครโปรแกรม / ทุนสนับสนุนที่เกี่ยวข้องด้านล่างภายหลังการจับคู่ผ่านระบบสำเร็จ