กรรมวิธีการผลิตแผ่นกรองชีวภาพสำหรับบำบัดน้ำเสียและแบคทีเรีย 1942 Views

องค์ความรู้/เทคโนโลยี

        กรรมวิธีผลิต “แผ่นกรองชีวภาพจากพอลิไฮดรอกซีอัลคาโนเอตร่วมกับเซลลูโลสจากพืช” สำหรับใช้ในการแก้ปัญหาน้ำเสียและช่วยกรองแบคทีเรีย เป็นการพัฒนาแผ่นกรองที่มีคุณภาพสูงกว่าแผ่นกรองเซลลูโลส ทำให้ประสิทธิภาพในการกรองจุลินทรีย์สูงขึ้น นอกจากนี้ยังเพิ่มความยืดหยุ่น และช่วยลดต้นทุนการผลิตแผ่นกรองจากเซลลูโลสเพียงอย่างเดียวอีกด้วย

รายละเอียด

        ปัจจุบันปัญหามลพิษทางน้ำทวีความรุนแรงมากขึ้น อันเนื่องมาจากการขยายตัวอย่างรวดเร็วของชุมชน ที่ก่อให้เกิดกิจกรรมที่เป็นต้นเหตุของการเกิดน้ำเสียเพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นน้ำเสียจากภาคอุตสาหกรรม เกษตรกรรม หรือกิจกรรมประจำวันต่างๆของชุมชน ซึ่งการเลือกระบบบำบัดน้ำเสียให้เหมาะสมกับแต่ละท้องถิ่น แต่ละสภาพแวดล้อม จะส่งผลต่อประสิทธิภาพในการกำจัดสิ่งเจือปน                

        “แผ่นกรองชีวภาพจากพอลิไฮดรอกซีอัลคาโนเอตร่วมกับเซลลูโลสจากพืช” ได้รับการพัฒนาคิดค้นเพื่อใช้ในการแก้ปัญหาน้ำเสียและช่วยกรองแบคทีเรีย โดยการพัฒนาแผ่นกรองที่มีคุณภาพสูงกว่าแผ่นกรองเซลลูโลส ทำให้ประสิทธิภาพในการกรองจุลินทรีย์สูงขึ้น นอกจากนี้ยังเพิ่มความยืดหยุ่น และช่วยลดต้นทุนการผลิตแผ่นกรองจากเซลลูโลสเพียงอย่างเดียวอีกด้วย

จุดเด่น

  • สามารถแก้ไขปัญหาน้ำเสียและการกรองแบคทีเรียซึ่งเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลต่อประชากรโดยตรง
  • แผ่นกรองชีวภาพที่ได้มีคุณภาพสูงกว่าแผ่นกรองเซลลูโลสเดิม
  • ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการกรองจุลินทรีย์

ตลาด/กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย

  • ผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมรายใหญ่/ รายย่อย
  • อุตสาหกรรมทั่วไปที่ต้องการใช้ในการแก้ปัญหาการบำบัดน้ำเสีย
  • ผู้สนใจทั่วไป
พูดคุยกับเจ้าของเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยทักษิณ
กลุ่มภารกิจบริหารผลผลิต ทรัพย์สินทางปัญญา และถ่ายทอดนวัตกรรม มหาวิทยาลัยทักษิณ
สถานะผลงาน
ระดับต้นแบบ (Prototype)
  • Initial
  • Experimental
  • Prototype
  • Transfer
ความต้องการ
  • ต้องการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับผู้ที่สนใจเพื่อผลิตเชิงพาณิชย์
  • ต้องการพัฒนาต่อยอดด้านกระบวนการผลิตในระดับอุตสาหกรรมร่วมกับผู้ที่สนใจ

ผู้เหมาะนำเทคโนโลยีไปลงทุน 

  • ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายอุปกรณ์บำบัดน้ำเสีย
  • ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมรายใหญ่/ รายย่อย
  • ผู้สนใจทั่วไป

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

ผู้สมัครสามารถสมัครโปรแกรม / ทุนสนับสนุนที่เกี่ยวข้องด้านล่างภายหลังการจับคู่ผ่านระบบสำเร็จ