กลไกข้อเข่าสำหรับใช้กับขาเทียม 1960 Views

องค์ความรู้/เทคโนโลยี

        วิธีออกแบบและสร้าง “กลไกข้อเข่าของขาเทียม”  แบบใหม่ สำหรับผู้พิการขาขาดเหนือเข่า  มีจุดเด่นคือ ช่วยให้ผู้พิการเดินและเคลื่อนไหวอย่างเป็นธรรมชาติมากที่สุด อาศัยกลไกหลายจุดศูนย์กลางการหมุน (Polycentric Knee Joint) ข้อต่อสามารถเคลื่อนที่ในเชิงเส้น (Prismatic joint) ผลิตและประกอบใช้ง่ายเนื่องจากใช้ชิ้นส่วนประกอบเพียง 2 ชิ้น มีต้นทุนการผลิตไม่สูง และง่ายต่อการบำรุงรักษา

รายละเอียด

        “ผู้พิการขาขาด” ในประเทศไทยมีจำนวนเพิ่มมากทุกปี ในจำนวนนี้ประกอบด้วยผู้พิการขาขาดเหนือเข่าถึง 27,000 คน  แต่ขาเทียมประเภทเหนือเข่าคุณภาพดี (หลายจุดศูนย์กลางการหมุน) จำเป็นต้องนำเข้าจากต่างประเทศและมีราคาสูง  ทำให้ผู้ด้อยโอกาสในประเทศต้องใช้ขาเทียมที่มีคุณภาพไม่ดีนัก (จุดหมุนเดี่ยว) ซึ่งยากต่อการใช้งานและอาจทำให้เกิดการบาดเจ็บตามมา กลไกข้อเข่าถือเป็นชิ้นส่วนในขาเทียมที่มีบทบาทสำคัญต่อการเดิน คือ ทำให้การเดินเป็นธรรมชาติและลดการเกิดปัญหาจากการใช้งาน แต่กลไกข้อเข่าเทียมที่ใช้กันส่วนใหญ่ในปัจจุบันยังมีปัญหาหลายด้าน เช่น กลไกมีชิ้นส่วนหลักหลายชิ้น ชิ้นส่วนยากต่อการขึ้นรูปและการประกอบ เป็นต้น

        “กลไกข้อเข่าแบบใหม่ชนิดหลายจุดศูนย์กลางการหมุนที่มีข้อต่อกลไกแบบ  Prismatic joint ถูกพัฒนาคิดค้นจนได้กลไกที่มีเสถียรภาพในทุกตำแหน่งการเดิน (Gait cycle) ให้การเคลื่อนไหวเหมือนเข่าจริงตามธรรมชาติ ช่วยให้ผู้ใช้มีการทรงตัวที่ดีไม่ล้มขณะยืนหรือเดิน และมีลักษณะท่าทางการเดินที่เป็นธรรมชาติ กลไกนี้ได้ผ่านการทดสอบความแข็งแรงตามแนวทางมาตรฐานสากล ISO 10328 แล้ว นอกจากนี้ ยังมีการทดสอบภาคสนามกับอาสาสมัครจากโรงพยาบาลทหารผ่านศึก พบว่ากลไกข้อเข่าของขาเทียมที่ออกแบบสามารถรักษาเสถียรภาพขณะเดิน มีความมั่นคง และมีความคงทนที่ดี

จุดเด่น

  • กลไกเป็นแบบ Polycentric mechanism =ช่วยให้ผู้พิการเคลื่อนไหวได้เหมือนธรรมชาติ
  • มีชิ้นส่วนหลักของกลไกเพียง 2 ชิ้น ง่ายต่อการผลิต ประกอบ และบำรุงรักษา
  • ต้นทุนต่ำ

ข้อมูลเปรียบเทียบเทคโนโลยีนี้กับคู่แข่ง / เทคโนโลยีเดิม


ตลาด/กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย

  • ผู้พิการขาขาด
  • โรงพยาบาล
พูดคุยกับเจ้าของเทคโนโลยี
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ณิกานต์ ปิติทรงสวัสดิ์
สถานะผลงาน
ระดับถ่ายทอด (Transfer)
  • Initial
  • Experimental
  • Prototype
  • Transfer
ความต้องการ
  • ต้องการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้ผู้ประกอบการที่สนใจนำไปผลิต / ลงทุนเชิงพาณิชย์

ผู้เหมาะนำเทคโนโลยีไปลงทุน


  • ผู้ผลิตและจำหน่ายวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

ผู้สมัครสามารถสมัครโปรแกรม / ทุนสนับสนุนที่เกี่ยวข้องด้านล่างภายหลังการจับคู่ผ่านระบบสำเร็จ