ซอสผัดไทยสวนดุสิต 1547 Views

องค์ความรู้/เทคโนโลยี

         สูตรและกรรมวิธีผลิต  “ซอสผัดไทยสวนดุสิต”  ซอสพร้อมปรุงรสเพื่อสุขภาพที่ถูกพัฒนาให้เหมาะกับผู้ที่รักสุภาพและวิถีดำเนินชีวิตของคนในยุคปัจจุบันที่ต้องการความสะดวกรวดเร็วในการใช้งาน

รายละเอียด

         “ผัดไทย” เป็นเมนูอาหารของไทยที่ได้รับความนิยมทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ทำให้มีการพัฒนาและผลิตซอสสำหรับทำผัดไทยสูตรต่างๆ  อย่างไรก็ตามซอสที่จำหน่ายทั่วไปมักมีคุณภาพและรสชาติไม่แน่นอน รวมทั้งหากบริโภคเป็นประจำอาจส่งผลกระทบด้านลบต่อสุขภาพ เนื่องมาจากการใช้น้ำมันและส่วนผสมคุณภาพต่ำ

         “ซอสผัดไทยสวนดุสิต” ได้รับการพัฒนาคิดค้นขึ้นเพื่อเป็นซอสพร้อมปรุงผัดไทยโดยเฉพาะ มีรสชาติเปรี้ยว  หวาน เค็ม ที่ได้มาตรฐานครบทุกรส ผ่านการทดสอบความพึงพอใจซึ่งเป็นที่ถูกใจของผู้บริโภค ​ และเป็นซอสที่ได้รับการพัฒนาเพื่อสุขภาพของผู้บริโภคโดยเฉพาะ โดยใช้น้ำมันเมล็ดชาทดแทนน้ำมันพืชที่ใช้เป็นส่วนผสมเดิม ซึ่งน้ำมันเมล็ดชามีองค์ประกอบไขมันที่ดีต่อร่างกาย ไม่มีกรดไขมันทรานส์ มีกรดไขมันไม่อิ่มความสูง ช่วยลดระดับ LDL (คอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี) และเพิ่ม HDL  (คอเลสเตอรอลชนิดดี) โดยจะส่งผลดีต่อสุขภาพและยังคงรสชาติที่อร่อยถูกใจผู้บริโภค นอกจากนี้ยังมีการใช้ฟักข้าวผงซึ่งมีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระเพื่อช่วยควบคุมสีของซอสผัดไทยให้มีความสม่ำเสมอกัน

จุดเด่น

  • ใช้น้ำมันเพื่อสุขภาพแทนน้ำมันพืช ทำให้มีคุณภาพทางโภชนาการดีกว่าซอสผัดไทยทั่วไป
  • ซอสผัดไทยมีสีสวยสม่ำเสมอ และใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติในการให้สี
  • ผ่านการทดสอบความพึงพอใจ รสชาติอร่อยถูกใจผู้บริโภค
  • พร้อมใช้ปรุงผัดไทย

ข้อมูลเปรียบเทียบเทคโนโลยีนี้กับคู่แข่ง / เทคโนโลยีเดิม

ตลาด/กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย

  • ผู้ป่วยที่มีระดับไขมันไม่ดีในร่างกายสูง
  • ผู้บริโภคกลุ่มรักษาสุขภาพ
  • ผู้บริโภคในกลุ่มชาวไทยและชาวต่างชาติทั่วไป
พูดคุยกับเจ้าของเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
อรทัย โกกิลกนิษฐ
สถานะผลงาน
ระดับถ่ายทอด (Transfer)
  • Initial
  • Experimental
  • Prototype
  • Transfer
ความต้องการ
  • ต้องการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้ผู้ประกอบการที่สนใจนำไปผลิต / ลงทุนเชิงพาณิชย์

ผู้เหมาะนำเทคโนโลยีไปลงทุน

  • ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายอาหารสำเร็จรูป
  • ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายอาหารเพื่อสุขภาพ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

ผู้สมัครสามารถสมัครโปรแกรม / ทุนสนับสนุนที่เกี่ยวข้องด้านล่างภายหลังการจับคู่ผ่านระบบสำเร็จ